สยามไทยแลนด์ นิวส์ (ทุกทิศ ทั่วไทย ข่าวสารกว้างไกล คุณธรรมนำใจประชาชน)
บุรีรัมย์-พช. เดินหน้าส่งเสริมทอผ้าฝ้ายอีสาน หวังสู่ระดับโลกเหมือนผ้าไหม
กรมพัฒนาชุมชนคิกออฟ ปั้น 500 แบรนด์ เตรียมยกระดับผ้าทออีสานสู่สากล ส่งเสริมอีสาน 20 จังหวัดทอผ้าฝ้าย ปรับวิธีคิด เสริมดีไซน์ และกระบวนการผลิต เป้าหมายให้ทั่วโลกรู้จักเหมือนกับผ้าไหมไทย มั่นใจไม่มีปัญหาด้านการตลาด
วันนี้ 4 มิ.ย.61ที่โรงแรมบุรีเทล บุรีรัมย์ กรมการพัฒนาชุมชน เชิญกลุ่มทอผ้า 20 จังหวัดภาคอีสาน มาร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการยกระดับผ้าทออีสานสู่สากล โดยตั้งเป้าปั้น 500 แบรนด์หัตถศิลป์ผ้าทอดีสาน โดยร่วมกับสถานพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมระดมผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าทอ แฟชั่น สิ่งทอ มาร่วมให้ความรู้กับกลุ่มทอผ้าภาคอีสาน
โดยโครงการจะมุ่งพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจ,ปรับวิธีคิด,เสริมดีไซน์,กระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับตลาดเป้าหมาย โดยได้มีการแนะนำเชิงลึกในพื้นที่ผลิต การทดสอบตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริม local economy รากฐานมีความเข้มแข็งที่นำมาสร้างรายได้และการอนุรักษ์คุณค่าของวัฒนธรรม วิธีชีวิต คือการปลูก,ปั่น,ทอ,ย้อมผ้าฝ้าย รวมถึงเทคนิคการทอ
นางณัฐนิช อินทรสระ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า ขณะนี้ผ้าไหมไทยโลดแล่นไปไกลจนเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติแล้ว
แต่เรากำลังลืม”ผ้าฝ้าย”ซึ่งเป็นวิธีชีวิตของชาวอีสานควบคู่มากับผ้าไหม มาช้านานตั้งแต่บรรพบุรุษ กรมฯจึงมีแนวทางที่จะทำการพัฒนาผ้าฝ้ายให้โดดเด่นขึ้นมา เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มทอผ้า มีรายได้เพิ่มขึ้นมาอีกช่องทางหนึ่งนอกจากผ้าไหม
นายณัฐนิช ยังกล่าวด้วยว่า ตอนนั้นได้คัดเลือกแบรนด์ไว้แล้ว 500 แบรนด์ แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือกลุ่มตลาดส่งออก,กลุ่มตลาดพรีเมี่ยมและกลุ่มตลาดในประเทศ โดยจะมีผู้มีความรู้หลายด้าน โดยดึงเอาจุดเด่นของ OTOP มาผสานกับรูปแบบ ดีไซน์ และสไตล์การแต่งตัวของคนทุกช่วงวัย รวมถึงผลิตภัณฑ์การใช้สอย ของตกแต่ง เครื่องแต่งกายจากผ้าฝ้าย ซึ่งเป็นผ้าที่สามารถตอบโจทย์ประโยชน์ใช้สอย ความงาน โดนใจคนทุกรุ่น
อย่างไรก็ตามสำหรับวัตถุดิบและตลาด กรมฯได้มีการวางแผนเตรียมความพร้อมไว้หมดแล้ว และเชื่อว่า”ผ้าฝ้าย”ของชาวอีสาน จะเป็นที่รู้จักของคนไทยและคนทั้งโลกเหมือนกับผ้าไหมอย่างแน่นอน
โดยโครงการจะมุ่งพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจ,ปรับวิธีคิด,เสริมดีไซน์,กระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับตลาดเป้าหมาย โดยได้มีการแนะนำเชิงลึกในพื้นที่ผลิต การทดสอบตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริม local economy รากฐานมีความเข้มแข็งที่นำมาสร้างรายได้และการอนุรักษ์คุณค่าของวัฒนธรรม วิธีชีวิต คือการปลูก,ปั่น,ทอ,ย้อมผ้าฝ้าย รวมถึงเทคนิคการทอ
นางณัฐนิช อินทรสระ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า ขณะนี้ผ้าไหมไทยโลดแล่นไปไกลจนเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติแล้ว
แต่เรากำลังลืม”ผ้าฝ้าย”ซึ่งเป็นวิธีชีวิตของชาวอีสานควบคู่มากับผ้าไหม มาช้านานตั้งแต่บรรพบุรุษ กรมฯจึงมีแนวทางที่จะทำการพัฒนาผ้าฝ้ายให้โดดเด่นขึ้นมา เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มทอผ้า มีรายได้เพิ่มขึ้นมาอีกช่องทางหนึ่งนอกจากผ้าไหม
นายณัฐนิช ยังกล่าวด้วยว่า ตอนนั้นได้คัดเลือกแบรนด์ไว้แล้ว 500 แบรนด์ แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือกลุ่มตลาดส่งออก,กลุ่มตลาดพรีเมี่ยมและกลุ่มตลาดในประเทศ โดยจะมีผู้มีความรู้หลายด้าน โดยดึงเอาจุดเด่นของ OTOP มาผสานกับรูปแบบ ดีไซน์ และสไตล์การแต่งตัวของคนทุกช่วงวัย รวมถึงผลิตภัณฑ์การใช้สอย ของตกแต่ง เครื่องแต่งกายจากผ้าฝ้าย ซึ่งเป็นผ้าที่สามารถตอบโจทย์ประโยชน์ใช้สอย ความงาน โดนใจคนทุกรุ่น
อย่างไรก็ตามสำหรับวัตถุดิบและตลาด กรมฯได้มีการวางแผนเตรียมความพร้อมไว้หมดแล้ว และเชื่อว่า”ผ้าฝ้าย”ของชาวอีสาน จะเป็นที่รู้จักของคนไทยและคนทั้งโลกเหมือนกับผ้าไหมอย่างแน่นอน
ภาพ / ข่าว ธีรยุทธ์ ชำนาญกอง / วันชัย ผิวอร่าม จ.บุรีรัมย์
เกรียงไกร อนุรักษ์เจริญพร
บก.สยามไทยแลนด์ นิวส์
(ทุกทิศ ทั่วไทย ข่าวสารกว้างไกล คุณธรรมนำใจประชาชน)
บก.สยามไทยแลนด์ นิวส์
(ทุกทิศ ทั่วไทย ข่าวสารกว้างไกล คุณธรรมนำใจประชาชน)
เว็ปไซต์นี้จดทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทะเบียนพาณิชย์
-----------------------------------------------------
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น