สยามไทยแลนด์ นิวส์ (ทุกทิศ ทั่วไทย ข่าวสารกว้างไกล คุณธรรมนำใจประชาชน)
เทวาลัยศิวะมหาเทพ ! ปรากฎการณ์ความเชื่อความศรัทธาที่น่าทึ่ง และความอัศจรรย์ที่น่าสัมผัส (มีคลิป)
เทวาลัยศิวมหาเทพจังหวัดขอนแก่นในปัจจุบันมีการประกอบ พิธีกรรมทางศาสนาแทบทุกวัน ภายในบริเวณเทวสถานประกอบไป ด้วยสิ่งปลูกสร้างและประติมากรรมในรูปแบบที่แตกต่างจากศาสนสถานอื่นๆ โดยทั่วไป ภายในศาลาหลังต่างๆจะมีประติมากรรมรูปปั้นพระศิวะพระพรหม พระพิฆเณศ ช้าง วัว เสือ งู และศิวะลึงค์บนฐานโยนี โดยเฉพาะภายในอาคารที่สร้างจากจินตนาการของบาบา (ผู้นำในการประกอบพิธีกรรม) ซึ่งจินตนาการนี้เป็นความประสงค์ องค์ศิวมหาเทพที่จำลองแบบว่าเป็นถ้ำบนเขาหิมาลัย จะพบประติมากรรมเทวรูปหลายองค์ ภาพถ่ายรวมทั้งภาพวาดขององค์ศาสดา สัญลักษณ์ทางศาสนา ประติมากรรมรูปพญานาค ประติมากรรมรูป ฝรัชกาลที่ 5 รวมทั้งพระพุทธรูปและรุปภาพพระที่เป็นเกจิอาจารย์ เป้นต้น ซึ่งพระพุทธรูป รูปภาพพระที่เป็นเกจิอาจารย์และประติมากรรมรูปรัชกาลที่ 5 สิ่งทั้งหมดเป้นภาพสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาและกษัตริย์ซึ่งทรงนับถือพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน ซึ่งไม่ใช่ภาพสัญลักษณ์หรือสิ่งที่ชาวฮินดูนับถือ แต่กลับถูกจัดวางไว้อย่างโดดเด่น พร้อมทั้งมีร่องรอยการกราบไหว้..........
แม้ในยุคปัจจุบันศาสนาพุทธจะเป็นศาสนาที่มีผลต่อคติความ ผู้เชื่อของผู้คนมากที่สุดในจังหวัดขอนแก่น แต่ความเชื่อต่ศาสนาอื่นโดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์ยังคงปรากฎให้เห็น และเริ่มมีผู้ที่สนใจเพิ่มมากขึ้น สังเกตุได้จากในเทวาลัยศิวะมหาเทพที่มีสิ่งปลูก สร้างรวมทั้งสิ่งของมากมายที่ต้องอาศัยแรงศรัทธาดดยเฉพาะปัจ จัยหรือทุนสนับสนุน แต่สิ่งที่สำคัญและถือว่าเป็นแนวทางปฏิบัติของผู้ที่ศรัทธาซึ่งมีกิจกรรมที่เป็นพิธีทางศาสนาทุกวันรวมทั้งพิธีกรรมอื่นๆในวันพิเศษ จากการสนทนากับ บา บา โกเฮ ผู้นำในการประกอบพิธีกรรมของเทวาลัยศิวะมหาเทพแห่งนี้ ท่านเป็นพราหมณ์ มาจากกรุงเทพฯ ได้อธิบายให้ทราบว่า สถานที่แห่งนี้สร้างมาได้ 3 ปี โดยที่ื บา บา โกเฮ มีความเชื่อว่าสถานที่แห่งนี้ เป็นศูนย์กลางของจักรวาลและสิ่งทั้งปวง การเลือกที่นี่ส่วนหนึ่งเกิดจากความประสงค์ขององค์พระศิวะที่ บา บา โกเฮ สามารถสื่อสารกับพระองค์ได้ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการอธิษฐานหลังพิธีอาตีหรือบูชาไฟ.......
การอารตีหรือการบูชาไฟนั้น ตามตำราท่านกล่าวว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการบูชาเทพ ของชาวฮินดู ถือว่าพิธีกรรมทั้งหลายนั้นจะไม่สมบูรณ์หากขาดการบูชาไฟ
หลังผ่านพิธีดังกล่าวจะวางตะเกียงอารตีไว้หน้าแท่นบูชา แล้วผู้ร่วมพิธีนิยมใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างคว่ำลงเปลวไฟในระยะที่ห่างพอสมควรแล้วนำฝ่ามือมาแตะที่หน้าผาก ดวงตา และใบหู เพื่อเปิดทวารในการรับรู้ซึ่งสัมผัสพิเศษ และขับไล่สิ่งอัปมงคลทั้งหลายให้ หมดไป.......การถือตะเกียงอารตีควรถือด้วยมือขวาโดยใช้มือซ้ายประคองอีกที แล้วเวียนไปทางขวา ระหว่างที่วนต่อหน้าเทวรูปควรสวดหรือท่องมนต์เพื่อบูชาเทพเจ้า หรือเปิดเทปซีดีอารตีก็ได้....
การอารตี หรือ นีราชนม ตามประเพณีฮินดูอาจแบ่งกว้างๆออก ได้เป็นสองอย่าง คือ
1. สนธยารตี คือ การอารตีที่กระทำในเวลาสนธยา ได้แก่ เวลาเช้ากับพลบค่ำ ทางเทวสถานเทพมณเทียน ฮินดูสมาช กำหนดให้เป็นเวลา 07.00 น. และ 19.00 น.ของทุกวัน การสนธยาอารตีจะต้องกระทำในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทุกแห่งไป และมักจะกระทำหลังจากการชุมนุมสวดมนต์หรือการทำสันโยปัสนา(ภาวนาประจำวัน) ส่วนกระทำในบ้านเรือน ซึ่งมีการประดิษฐานเทวรุปนั้น ได้มีความเห็นออกเป็นสองฝ่าย นักบวชสวามีบางรูปเห็นว่าไม่ควรทำ เพราะบ้านที่อาศัยของคฤหัสถ์ชนย่อมมีการกระทำบาปเนืองๆ แต่บางท่านเห็นว่าสามารถกระทำได้ แต่โดยทั่วไป หากมีสถานที่บูชาอันเฉพาะเป็นสัดส่วนก็น่าจะสามารถกระทำได้ไม่ผิดอะไร
2. การอารตี หลังการประกอบพิธี การอารตีประเภทนี้จะกระทำหลังจาการประกอบพิธีบูชาตามวาระโอกาสต่างๆ เช่น หลังจาการสวดมนต์ การชุมนุมสวดมนต์ หรือการที่อาจารย์ พราหมณ์นักบวชได้สวดอ่านคำภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ ปุราณะต่างๆ รามายณะ ภควัทคีตา รวมจริต มานัส เป็นต้น หรือการทำอภิเษก สมโภชนักบวช คุรุ สิ่งก่อสร้างต่างๆหรือการต้อนรับผู้มาเยือนการต้อนรับเจ้าบ่าว นักบวช คุรุ (กระทำเบื้องหน้าผู้ที่เราต้อนรับ) ฯลฯ การอารตีเช่นนี้ วิธีคล้ายแบบแรกแต่ไม่กำหนดเวลา.....
การประกอบพิธีกรรมในเทวาลัยศิวะมหาเทพนั้น บาบา โกเฮ จะเป็นผู้นำในการประกอบพิธี พิธีที่ปฏิบัติกันทุกวันคือ "การอาตี" หรือพิธีบูชาไฟที่ทำขึ้นเพื่อบูชาพระศิวะอันเป็นมหาเทพของผู้ที่มาอารตีในเทวาลัยแห่งนี้ บริเวณที่ประกอบพิธีอารตีจะมีป้ายอธิบาย ขั้นตอนการประกอบพิธี มีเนื้อหาดังต่อไปนี้
หลังผ่านพิธีดังกล่าวจะวางตะเกียงอารตีไว้หน้าแท่นบูชา แล้วผู้ร่วมพิธีนิยมใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างคว่ำลงเปลวไฟในระยะที่ห่างพอสมควรแล้วนำฝ่ามือมาแตะที่หน้าผาก ดวงตา และใบหู เพื่อเปิดทวารในการรับรู้ซึ่งสัมผัสพิเศษ และขับไล่สิ่งอัปมงคลทั้งหลายให้ หมดไป.......การถือตะเกียงอารตีควรถือด้วยมือขวาโดยใช้มือซ้ายประคองอีกที แล้วเวียนไปทางขวา ระหว่างที่วนต่อหน้าเทวรูปควรสวดหรือท่องมนต์เพื่อบูชาเทพเจ้า หรือเปิดเทปซีดีอารตีก็ได้....
การอารตี หรือ นีราชนม ตามประเพณีฮินดูอาจแบ่งกว้างๆออก ได้เป็นสองอย่าง คือ
1. สนธยารตี คือ การอารตีที่กระทำในเวลาสนธยา ได้แก่ เวลาเช้ากับพลบค่ำ ทางเทวสถานเทพมณเทียน ฮินดูสมาช กำหนดให้เป็นเวลา 07.00 น. และ 19.00 น.ของทุกวัน การสนธยาอารตีจะต้องกระทำในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทุกแห่งไป และมักจะกระทำหลังจากการชุมนุมสวดมนต์หรือการทำสันโยปัสนา(ภาวนาประจำวัน) ส่วนกระทำในบ้านเรือน ซึ่งมีการประดิษฐานเทวรุปนั้น ได้มีความเห็นออกเป็นสองฝ่าย นักบวชสวามีบางรูปเห็นว่าไม่ควรทำ เพราะบ้านที่อาศัยของคฤหัสถ์ชนย่อมมีการกระทำบาปเนืองๆ แต่บางท่านเห็นว่าสามารถกระทำได้ แต่โดยทั่วไป หากมีสถานที่บูชาอันเฉพาะเป็นสัดส่วนก็น่าจะสามารถกระทำได้ไม่ผิดอะไร
2. การอารตี หลังการประกอบพิธี การอารตีประเภทนี้จะกระทำหลังจาการประกอบพิธีบูชาตามวาระโอกาสต่างๆ เช่น หลังจาการสวดมนต์ การชุมนุมสวดมนต์ หรือการที่อาจารย์ พราหมณ์นักบวชได้สวดอ่านคำภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ ปุราณะต่างๆ รามายณะ ภควัทคีตา รวมจริต มานัส เป็นต้น หรือการทำอภิเษก สมโภชนักบวช คุรุ สิ่งก่อสร้างต่างๆหรือการต้อนรับผู้มาเยือนการต้อนรับเจ้าบ่าว นักบวช คุรุ (กระทำเบื้องหน้าผู้ที่เราต้อนรับ) ฯลฯ การอารตีเช่นนี้ วิธีคล้ายแบบแรกแต่ไม่กำหนดเวลา.....
การประกอบพิธีกรรมในเทวาลัยศิวะมหาเทพนั้น บาบา โกเฮ จะเป็นผู้นำในการประกอบพิธี พิธีที่ปฏิบัติกันทุกวันคือ "การอาตี" หรือพิธีบูชาไฟที่ทำขึ้นเพื่อบูชาพระศิวะอันเป็นมหาเทพของผู้ที่มาอารตีในเทวาลัยแห่งนี้ บริเวณที่ประกอบพิธีอารตีจะมีป้ายอธิบาย ขั้นตอนการประกอบพิธี มีเนื้อหาดังต่อไปนี้
ทีมงานผู้สื่อข่าวขอแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าทึ่ง ! สวยงามตระกาลตา ปรากฎการณ์ความเชื่อที่น่าทึ่ง และคสามอัศจรรย์ที่น่าสัมผัสและค้นหาของ เทวาลัยศิวะมหาเทพ จ.ขอนแก่น..........ในอดีตนั้นจังหวัดขอนแก่นเป็นพื้นที่หนึ่งที่ปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์และ พิธีกรรมหลายอย่างซึ่งแสดง ให้เห็นถึงคติความเชื่อของผู้คนที่มีต่อผีศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ในส่วนของศาสนาพุทธและ ความเชื่อในเรื่องผีนั้น ยังคงพบ เห็นกระบวนการสืบเนื่องทั้งในด้านวัตถุและพิธีกรรมได้กล่าวคือ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ชาวอีสานส่วนใหญ่รวมทั้งชาวขอนแก่น ศรัทธาสืบเนื่องเป็นหลักฐานอย่างมั่นคง ความเชื่อในเรื่องผีนั้น สืบเนื่องมาจากบรรพบุรุษโดยสะท้อนออกมาจากพิธีกรรมหลาย อย่างในปจจุบัน เช่น พิธีบูชาแถนที่พบในประเพณีบุญบั้งไฟ ไหลเรือไฟบูชาพญานาคในวันออกพรรษาที่วัดบ้านดงพอง ตำบลศิลา อำเภอเมือง พิธีไล่ปอปที่บ้านกุดกว้าง ตำบลโนนทัน อำเภอเมือง ลำผีฟ้า อำเภอพระยืน หรือการกราบไหว้ผีต่างๆตาม พื้นที่ทั่วไป ส่วนศาสนาพราหมณ์นั้นมีหลักฐานทางโบราณคดีที่ยืน ยันได้ว่าพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่นเคยมีผู้คนนับถือและศรัทธามาแต่ อดีตแต่ก็เป็นช่วงเวลาที่ผ่านมาแล้วเกือบพันปี เช่นที่ปราสาท เปือยน้อย อำเภอเปือยน้อย เป็นศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์ สถานที่ดังกล่าวพบหลักฐานเป็นภาพจำหลักหิน เมื่อวิเคราะห์ใน เชิงประติมานวิทยาพบว่ามีทั้งคติความเชื่อของลัทธิไศวะนิกายและ ไวษณพนิกาย (นิยม วงศ์พงษ์คำ,2545) นับจากช่วงเวลานั้นเป็น ต้นมาเราจะพบว่าศาสนสถานและพิธีกรรมหลายอย่างในศาสนา พราหมณ์ได้เลือนหายไป แต่คติความเชื่อบางอย่างถูกผนึกรวมเข้า เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาหลักก็คือสาสนาพุทธ ซึ่งพบเห็นได้ในสัญ ลักษณ์ของเทพเจ้าต่างๆที่คอยปกปักรักษาพุทธศาสนสถานตาม ส่วนประกอบต่างๆ ของอาคาร เช่น ตามทวารบานของโบสถ์ วิหาร หรือสิม ตลอดเวลาที่ผ่านมาจึงไม่พบศาสนสถานของศาสนา พราหมณ์ที่เป็นหลักแหล่งสักแห่งในจังหวัดขอนแก่น จนกระทั่งเมื่อ ประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมา บริเวณถนนรอบเมืองด้านทิศตะวันออก ของตัวจังหวัดขอนแก่น มีการก่อสร้างศาสนสถานที่สำคัญของ ศาสนาพราหมณ์ที่เรียกว่า "เทวาลัยศิวเทพ" .........
บุญสี ศรีกุล
ผู้สื่อข่าวสยามไทยแลนด์ นิวส์เกรียงไกร อนุรักษ์เจริญพร
บก.สยามไทยแลนด์ นิวส์
(ทุกทิศ ทั้วไทย ข่าวสารกว้างไกล คุณธรรมนำใจประชาชน)
เว็ปไซต์นี้จดทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทะเบียนพาณิชย์
-----------------------------------------------------
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น