• KSL Group

    บริษัท น้ำตาล ขอนแก่น จำกัด (มหาชน)

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 6 บูรณาการสื่อเสริมสร้างความรู้สุขภาพจิตแนะแนวแก้ไขการฆ่าตัวตายและโรคทางจิตเวช

สยามไทยแลนด์ นิวส์ (ทุกทิศ ทั่วไทย ข่าวสารกว้างไกล คุณธรรมนำใจประชาชน)

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 6 บูรณาการสื่อเสริมสร้างความรู้สุขภาพจิตแนะแนวแก้ไขการฆ่าตัวตายและโรคทางจิตเวช

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 6 กรมสุขภาพจิต จัดโครงการอบรมปฏิบัติการเพื่อบูรณาการองค์ความรู้สุขภาพจิตสำหรับเครือข่ายสื่อมวลชน เขตสุขภาพที่ 6 เพื่อให้สื่อมวลชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องสุขภาพจิต ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และขุมชน รวมทั้งสามารถนำความรู้สุขภาพจิตไปเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ ในชุมชนได้ กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด ผู้ดำเนินรายการสถานีวิทยุชุมชน แกนนำชุมชนที่ดำเนินรายการเสียงตามสายหรืองานประชาสัมพันธ์ในชุมชน ในพื้นที่เครือข่ายเขตสุขภาพที่ 6 จำนวน 8 จังหวัด ๆ ละ 12 คน ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ปราจีน และสระแก้ว จำนวน 96 คน ระหว่างวันที่ 18 -19 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมเดอะไทส์รีสอร์ท บางแสน จังหวัดชลบุรี โดยมีนางวรรณวิไล ภู่ตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 6 กล่าวต้อนรับ 
กิจกรรมประกอบด้วย วันแรก การบรรยายให้ความรู้ เรื่องสุขภาพจิต/ปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยและแนวทางการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง การอภิปราย เรื่องการคิดบวกและประสบการณ์สื่อสารงานสุขภาพจิต แบ่งกลุ่มปฏิบัติสมมุติให้ความช่วยเหลือผู้กำลังฆ่าตัวตาย และสื่อมวลชนนำเสนอถูกทางช่วยลดปัญหาสุขภาพจิตสร้างความเข้าใจผู้ป่วยจิตเวช /วันที่สอง เทคนิคการให้คำปรึกษาเบื้องต้นและให้การปรึกษาเบื้องต้นและการให้การปรึกษาทางโทรศัพท์,พลังสื่อมวลชน พลังสำคัญสร้างสรรค์สังคมสุขภาพจิตดีและแนวทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้สุขภาพจิตสู่ชุมชน โดยอาจารย์ศิรินา สันทัดงาน จากมหาวิทยาลัยปทุมธานี โดยเครือข่ายสื่อมวลชนได้รับความรู้ด้านจิตเวชมากยิ่งขึ้น พร้อมฝึกปฏิบัติในการช่วยเหลือและแบ่งปันประสบการณ์จริง
ทั้งนี้สภาพสังคมในปัจจุบัน เป็นสังคมยุคสื่อสาร ซึ่งความเจริญก้าวหน้าหรือความอยู่รอดของสังคมขึ้นอยู่กับคนในสังคมได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องทันเวลา และปรับตัวได้อย่างเหมาะสม สื่อมวลชนต่างๆจึงมีบทบาทสำคัญในการเสนอข่าวที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ตลอดจนนำความคิดของคนในสังคมด้วย แต่ปัจจุบันสื่อบางรายมีการนำเสนอข้อมูลเรื่องการส่งเสริิมความรุนแรงมากเกินไป เช่น เรื่องราวการฆ่าตัวตาย นำเสนอผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรง ทำร้ายคนอื่น ซ้ำๆติดๆกันหลายวัน การฆ่าตัวตายของผู้มีชื่อเสียง การเผยแพร่ภาพยนต์หรือละครที่มีบทพยายามฆ่าตัวตายหรือมีการฆ่าตัวตายที่แสดงวิธีอย่างละเอียด เป็นต้น ถือว่าเป็นอุปสรรคสำคัญในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตาย ซึ่งความเป็นจริงแล้วโรคทางจิตเวชไม่ใช่โรคร้าย ไม่ใช่ตราบาป ไม่ใช่เรื่องน่าละอาย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และสามารถรักษาให้หาย กลับคืนสู่สังคมได้อย่างมีคุณค่า ซึ่งสื่อทุกคนจะนำความรู้ที่ได้รับฯไปขยายผลต่อไป



(สนธยา-ข่าว-19 มิ.ย.61)
......................................
เกรียงไกร อนุรักษ์เจริญพร
บก.สยามไทยแลนด์ นิวส์
(ทุกทิศ ทั่วไทย ข่าวสารกว้างไกล คุณธรรมนำใจประชาชน)
-------------------------------------
เว็ปไซต์นี้จดทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทะเบียนพาณิชย์

-----------------------------------------------------

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น