• KSL Group

    บริษัท น้ำตาล ขอนแก่น จำกัด (มหาชน)

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565

เวทีภาคอีสานเห็นพ้องงานคุ้มครองผู้บริโภคต้องรวดเร็ว-ทันที-ไร้รอยต่อ


เวที “ความท้าทายการคุ้มครองผู้บริโภคยุคดิจิทัล” เห็นพ้องทุกฝ่ายต้องปรับตัวเพื่อการจัดการแก้ไขปัญหาผู้บริโภค ต้องรวดเร็ว - ทันที - เชื่อมโยงการทำงานระหว่างกันแบบไร้รอยต่อ


วันที่ 26 สิงหาคม 2565 สภาองค์กรของผู้บริโภคผู้บริโภค (สอบ.) จัดเวทีประชุมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในการทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจัดเวทีเสวนา ‘เส้นทางการทำงานผู้บริโภค และความท้าทายในการคุ้มครองผู้บริโภคยุคดิจิทัล’ ผู้เข้าร่วมในเวทีที่มีทั้งผู้บริโภค หน่วยงานรัฐและนักวิชาการ ซึ่งต่างก็สะท้อนความกังวลร่วมกันว่า ไม่ใช่แต่ประสิทธิภาพข้อมูลความรู้ แต่ความรวดเร็วในยุคดิจิทัล ก็นำมาซึ่งความฉับไวในกลโกงรูปแบบใหม่ ๆ ที่เร็วกว่า ไปไกลกว่า


บุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า การเดินหน้างานคุ้มครองผู้บริโภคของสภาองค์กรของผู้บริโภคมุ่งลดปัญหาผู้บริโภคและให้ข้อมูลความรู้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะการทำงานในยุคดิจิทัลที่ไม่เพียงเฉพาะสภาองค์กรของผู้บริโภคต้อง ‘รวดเร็ว - ทันท่วงที’ แต่ทุกฝ่ายต้องตื่นตัวและเร่งมือแก้ไขปัญหาให้มากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันรูปแบบและกลโกงของมิจฉาชีพได้ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และอาจเป็นเรื่องยากที่จะทำให้หมดไป ดังนั้น จึงต้องหาแนวทางที่จะจำกัดวงไม่ให้ระบาดจนเป็นปัญหาอย่างรุนแรงและกระทบกับผู้บริโภค


“ผู้บริโภคต้องการความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา และทุกฝ่ายไม่ควรทำงานเป็นเพียงหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนเท่านั้น แต่ต้องทำงานเชิงรุก มีการเชื่อมโยงข้อมูลจากทุกหน่วยงานแบบบูรณาการ มีชุดความรู้ให้ผู้บริโภค เมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ดังกล่าว และต้องสามารถนำชุดความรู้เหล่านั้นออกมาใช้ได้ทันทีอย่างมีคุณภาพ” บุญยืน กล่าว


ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวอีกว่า ผู้บริโภคในยุคดิจิทัลควรเป็นผู้บริโภคที่ตื่นตัว เท่าทัน ไม่เปิดโอกาสให้เกิดการละเมิดสิทธิ สามารถรักษาสิทธิตัวเอง ดูแลรักษาสิทธิผู้บริโภคคนอื่น ๆ และสาธารณประโยชน์ได้ ขณะเดียวกันต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งเชื่อมั่นว่าผู้บริโภคยุคใหม่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง และทำให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าและบริการ ท้ายที่สุดจะช่วยให้กลไกการคุ้มครองผู้บริโภคดีขึ้นได้แน่นอน


        ด้าน กนกพร ธัญมณีสิน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น (สสจ.ขอนแก่น) กล่าวว่า ที่ผ่านมาปัญหาเรื้อรังในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ได้มีการค้นสถานที่ผลิตและตรวจจับผลิตภัณฑ์ผิดกฏหมาย ได้แก่ ยาที่มีการปลอมปนสารสเตียรอยด์และผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยในฉลากระบุสถานที่ผลิตว่าผลิตที่จังหวัดขอนแก่น แต่เมื่อตรวจสถานที่ผลิตกลับไม่พบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่าผลิตที่จังหวัดขอนแก่น ส่วนการแก้ไขปัญหานั้นมีการประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งการเรียกผู้ประกอบการประชุมหารือ หน่วยงานรัฐ อาทิ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ลงพื้นที่จัดการกับผู้ประกอบการ แต่ทั้งนี้พบว่ายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จ ขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่เกิดปัญหามีการเปลี่ยนรูปแบบการขายอย่างต่อเนื่อง เช่น จากการขายเร่ผ่านรถที่เร่ไปตามหมู่บ้านได้เปลี่ยนไปขายผ่านตลาดออนไลน์ (E-Marketplace) หรือขายบนสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ที่สามารถเข้าถึงคนได้มากขึ้น


กนกพร มองความท้าทายในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบันว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวาง แต่เจ้าหน้าที่หรือคนทำงานยังทำงานในระบบราชการซึ่งมีความยืดหยุ่นน้อย ทำงานอยู่ในกรอบ ระเบียบหรือทำงานได้เฉพาะขอบเขตของพื้นที่เท่านั้น ขณะที่ภาพฝันการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงอยากให้มีการจัดการปัญหาได้อย่างรวดเร็วแบบไร้รอยต่อ พร้อมกับต้องการให้มี ‘องค์กรกลาง’ หรือศูนย์ประสานงานที่มีประสิทธิภาพทำงานร่วมกันได้ ร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูล ไม่ใช่มีแต่โครงสร้าง หรือต้องมีหนังสือสั่งการ เพราะจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที


ส่วน ชาญณรงค์ บุริสตระกูล ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น มองความท้าทายในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนของภาคธุรกิจว่า ปัจจุบันข้อมูลข่าวสารไปเร็วมาก มีการใช้สื่อกันอย่างอิสระ ขณะที่ผู้บริโภคอาจไม่ได้มีการกลั่นกรองข้อมูล ซึ่งบางเรื่องอาจเป็นเรื่องไม่จริงหรือมีรายละเอียดไม่ครบ จากประเด็นที่เกิดขึ้นก็อาจทำให้ภาครัฐเข้ามากำกับดูแลการคุ้มครองผู้บริโภคได้ยากมากยิ่งขึ้น 


“การทำธุรกิจวันนี้เป็นอาชีพอิสระ อยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ไม่มีตัวตน การรู้ไม่เท่าทัน หรือการที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าโดยเห็นแก่ของถูก เราเลยไม่รู้ว่าสินค้าเหล่านั้นมีคุณภาพหรือถูกกฎหมายหรือไม่ ซึ่งก็จะมีปัญหาตามมาที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบไม่ได้ เพราะกระจัดกระจาย จากสมัยก่อนเรารู้ว่าผู้ผลิตสินค้านั้น ๆ คือใคร ร้านค้าตั้งอยู่ที่ไหน ยังมีตัวตน แต่วันนี้ไม่มีตัวตน ทุกคนมุ่งแต่ขายสินค้า ขายเครื่องสำอางโดยไม่รู้ว่ามีกฎหมายควบคุมอยู่ จะขายยาก็ผิดกฎหมาย คนขายก็ไม่รู้ คนซื้อก็ไม่รู้ ผมเห็นว่าคนควบคุมสื่อ คนทำป้าย คนรับผลิตคลิป แม้กระทั่งแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เผยแพร่ ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้วย” ชาญณรงค์ กล่าว
ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น กล่าวอีกว่า หอการค้าจังหวัดฯ จะสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐด้วยกัน องค์กรของผู้บริโภค ผู้ประกอบการ รวมทั้งผู้บริโภค เพื่อร่วมพัฒนาธุรกิจให้ดีขึ้น โดยส่วนตัวมองว่าหากผู้ประกอบการใดที่มีการทำธุรกิจที่ดี ทุกคนสามารถช่วยส่งเสริมและให้กำลังใจได้ ส่วนผู้ประกอบการที่ยังติดปัญหาหรือพบปัญหาเรื่องมาตรฐาน คุณภาพของสินค้า ทุกคนก็สามารถร้องเรียน ติชมหรือกระตุ้นเพื่อให้เกิดการปรับปรุงได้
ด้าน ณรงค์วิชย์ มหาศิริกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เกรียงไกร อนุรักษ์เจริญพร
บก.ข่าวสยามไทยแลนด์ นิวส์
(ทุกทิศ ทั่วไทย ข่าวสารกว้างไกล คุณธรรมนำใจประชาชน)




-------------------------------------
เว็ปไซต์นี้จดทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทะเบียนพาณิชย์


-----------------------------------------------------

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น