• KSL Group

    บริษัท น้ำตาล ขอนแก่น จำกัด (มหาชน)

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ประชุมคณะกรรมการ คสชร. รวฟ ณ เขื่อนสิรินธร

สยามไทยแลนด์ นิวส์ (ทุกทิศ ทั่วไทย ข่าวสารกว้างไกล คุณธรรมนำใจประชาชน)

ประชุมคณะกรรมการ คสชร. รวฟ ณ เขื่อนสิรินธร

              เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2561 นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (ชฟน.) เป็นประธานการประชุมผู้ปฎิบัติงาน CSR (CSR FORUM) สายงาน รวฟ. ของคณะกรรมการสื่อสารองค์การ ชุมชนสัมพันธ์ และความรับผิดชอบต่อสังคม (คสชร-รวฟ.) โดยกลุ่มงานสื่อสารสาธารณะ รวฟ. ร่วมด้วยคณะทำงานชุมชนนักปฎิบัติ (CoPs) วิชาชีพ CSR สายงาน รวฟ. / กฟผ. ทั่วประเทศ ช่วงวันที่ 28-29 สิงหาคม 2561 ณ ห้องประชุมอาคารช้างน้อย เขื่อนสิรินธร
ในที่ประชุม ชฟน. ประธานฯ ได้ให้นโยบายการดำเนินงาน CSR กฟผ. ดังนี้.-
1. ผลิตภัณฑ์ชุมชน
- ตั้งคณะกรรมการ ชุดที่ 1
- ว่าจ้างที่ปรึกษา
- รวบรวมผลิตภัณฑ์ชุมชน
- ช่องทางจัดจำหน่าย เช่นสหกรณ์ร้านค้า กฟผ. ยกระดับสินค้า high end สู่ร้านค้าธุรกิจเอกชน เช่น seven-eleven, king power ต่างประเทศ โดยมี ผลิตภัณฑ์ชุมชน ดำเนินการผ่านมาตรฐาน อย.
- มี brand /logo และ packaging กฟผ. ปัจจุบันมีแบรนด์สายชล /โดมน้อย
2.โรงไฟฟ้าท่องเที่ยว ทั้งเขื่อน/โรงไฟฟ้า
- มีคณะกรรมการ ชุดที่ 2
- นักท่องเที่ยวอยากมาท่องเที่ยว มีความเป็นมิตร เป็น รฟ.ของชุมชน/สิ่งแวดล้อม
- ทำให้เกิดรายได้ต่อชุมชน ขายสินค้า/ผลิตภัณฑ์ชุมชนได้
- อนุรักษ์โรงไฟฟ้าเหมือนเป็นป่าธรรมชาติ
- หาจุดขายดึงดูดการท่องเที่ยว
- จัด event ให้ถูกบรรจุในปฏิทินท่องเที่ยวทั้งเขื่อนและโรงไฟฟ้า เช่นวิ่งมาราธอน แข่งเรือ จักรยานเสือภูเขา มีรายได้ มี homestay (กฟผ. สนับสนุน)
3. social enterprise (SE ) บริษัทเพื่อสังคม
- รัฐวิสาหกิจ/บริษัท จะต้องช่วยเหลือชุมชนด้านใดด้านหนึ่ง
- ปลดล็อคระเบียบข้อจำกัด
- รูปแบบการดำเนินงาน รูปแบบการแบ่งปันผลประโยชน์ชุมชนได้กำไร/กฟผ.สนับสนุน (กฟผ. มีรายได้จากการขายไฟ และธุรกิจ o&m เป็นหลัก)
- เขื่อนภูมิพลนำร่อง pilot ด้าน SE ของ กฟผ.
โครงสร้างกลุ่มงาน CSR
- แผนกชุมชนสัมพันธ์ ไปขึ้น กับผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน
- สก. รวฟ. สังกัด ผช. ผวก. ยั่งยืน att:ทีมงานคุณดิเรก (สนับสนุนข้อมูล)
- ปรับโครงสร้างให้ lean ให้คล่องตัว พิธีกรรมไม่ต้องเยอะ
- ผวก. ยังมุ่งมั่นโครงการเขื่อนสิรินธร model ให้เป็นไปตามแผน ตามเป้าหมาย ความยั่งยืนของชุมชน ใน 15-20 ปี ให้สำเร็จเป็นรูปธรรม ต้องวางรากฐาน ไม่ต้องเสร็จเร็ว เหมือนดอยตุง model ที่มีช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าใช้เวลา 20-30 ปี
การจัดเวทีเสวนาเสนอแนะ
- จัดเป็นมูลนิธิ จะทำได้ง่ายได้เร็ว ไม่ติดขัดระเบียบมาก
- โรงไฟฟ้าสีเขียว เช่นโครงการ อพ~สธ.
- ผู้ปฎิบัติงาน กฟผ. รุ่นใหม่มาร่วมงาน
- วางกลยุทธ์ระยะยาว 15-20 ปี เช่น เขื่อนสิรินธร model ตัวชี้วัดต้องวัดปลายทาง 15-20 ปี
- grosshappiness GHP ความสุขชุมชน/สังคม (ไม่ได้วัดที่ GDP ด้านเศรษฐกิจ/รายได้)
- ยึดวิถีชีวิตดั้งเดิมชุมชน แต่คุณภาพชีวิตดีขึ้น สุขภาพ อนามัย การศึกษา มีรายได้เพิ่มขึ้น
- วางกลยุทธ์ จัดทำ road map เป็นช่วงๆ 5-10-15-20 ปี
- มีเครือข่าย มีพันธมิตร
- มีผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. รุ่นใหม่มาเสริมทัพ 10-20 ปี เป็น CSR ระยะยาว ได้แก่
• โครงการ เขิ่อนสิรินธร model
~ มีเครือข่ายร่วมดำเนินงาน
~ ชุมชนคิด
~ น้องๆ มีจิตอาสา
~ มีตลาดชุมชน
~ มีตลาด on-line
~ มี ETA มาช่วย
~ มี สวทช. มาช่วย
~ ยกระดับธนาคารน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้เป็นงานวิจัย
~ น้ำเพื่อชีวิต
และกิจกรรม "เรื่องเล่าจากพี่สู่น้อง " ถอดบทเรียนการทำงานจากผู้บริหารเกษียณอายุ ในปี 2561...
- ว่าที่ ร.ต.ณรงค์ศักดิ์ คุณูปถัมภ์ (อจม.)
- นายวรวิทย์ รวีนิภาพงศ์ (อฟอ.)
- นางนพณภัสสร ถาวรอธิวาสน์ (กชส-ฟ./ อจม.)
***ขอขอบคุณข้อมูล วศ.11 อฟพ.เกษม ปิดสายะตัง***








เกรียงไกร อนุรักษ์เจริญพร
บก.สยามไทยแลนด์ นิวส์
(ทุกทิศ ทั่วไทย ข่าวสารกว้างไกล คุณธรรมนำใจประชาชน)






-------------------------------------
เว็ปไซต์นี้จดทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทะเบียนพาณิชย์

-----------------------------------------------------

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น