• KSL Group

    บริษัท น้ำตาล ขอนแก่น จำกัด (มหาชน)

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561

บิ๊ก ยุติธรรม - แรงงาน ลงพื้นที่โรงงานปทุมธานี ร่วมขับเคลื่อนสร้างอาชีพผู้ต้องขัง (มีคลิป)

สยามไทยแลนด์ นิวส์ (ทุกทิศ ทั่วไทย ข่าวสารกว้างไกล คุณธรรมนำใจประชาชน)

บิ๊ก ยุติธรรม - แรงงาน ลงพื้นที่โรงงานปทุมธานี ร่วมขับเคลื่อนสร้างอาชีพผู้ต้องขัง (มีคลิป)

วันนี้ (15 มิถุนายน 2561) ที่ บริษัทเกรทวอลล (1988) จำกัด จังหวัดปทุมธานี พลอากาศเอก 
ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจผู้ต้องขังชั้นดีที่ออกมาฝึกทักษะอาชีพในสถานประกอบการ โดยมี นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ อธิบดีกรมการจัดหางาน พันตำรวจเอก ดร.ณรัชต์ เศวตนันท์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงยุติธรรมและกระทรวงแรงงาน ร่วมคณะ
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า วันนี้เป็นการตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจผู้ต้องขังชั้นดีที่ออกมาฝึกทักษะการทำงานภายนอกเรือนจำที่บริษัท
เกรทวอลล (1988) จำกัด จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นการติดตามและขับเคลื่อนการส่งเสริมการมีงานทำ หลังจากที่ได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือตาม “โครงการประชารัฐ ร่วมสร้างงาน สร้างอาชีพผู้ต้องขัง” เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2561 ณ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างกรมราชทัณฑ์ กรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสและคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ต้องขัง ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมด้านทักษะฝีมือ จริยธรรม รวมถึงสร้างรายได้ให้เป็นเงินทุนนำไปประกอบอาชีพภายหลังพ้นโทษ และไม่หวนไปกระทำผิดซ้ำ
สำหรับบริษัทเกรทวอลล (1988) นั้น กรมราชทัณฑ์ได้ส่งผู้ต้องขังชั้นดีออกไปฝึกทักษะฝีมือ
ซึ่งบริษัทฯ ได้รับผู้ต้องขังสมัครเข้าทำงานในตำแหน่งต่าง ๆ คือ พนักงานจัดส่ง พนักงานประกอบประตู ช่างเชื่อม ช่างประกอบ และช่างปูกระเบื้องยาง ได้รับอัตราค่าจ้างวันละ 325 บาทต่อคน ต้องขอขอบคุณกระทรวงแรงงานและบริษัทเกรทวอลลฯ ที่ให้โอกาสผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษได้กลับสู่สังคมได้อย่างปกติสุข ร่วมคืนคนดี
สู่สังคมได้อย่างแท้จริง
ด้านพลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า “โครงการ
ประชารัฐ ร่วมสร้างงาน สร้างอาชีพผู้ต้องขัง” มีเป้าหมายการดำเนินงาน 37,000 คน มีผลการดำเนินงาน ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ดำเนินการก่อนพ้นโทษ เป้าหมาย 37,000 คน มีผลการดำเนินงาน รวม 35,097 คน
ช่วงที่ 1 ฝึกทักษะและนำชิ้นงานเข้าไปทำในเรือนจำ เป้าหมาย 27,000 คน ผลการดำเนินงาน 24,562 คน แยกเป็น 1) นำชิ้นงานเข้าไปผลิตในเรือนจำ จำนวน 18,793 คน เช่น ถักอวน ปักผ้า สานตะกร้า ประดิษฐ์ดอกไม้ พับถุงกระดาษ ทำห่วงทองรูปพรรณ เป็นต้น 2) ฝึกทักษะอาชีพในสถานประกอบการ จำนวน 1,266 คน เช่น ช่างซ่อมเครื่องยนต์ ช่างติดตั้งเหล็กโครงสร้างมวลเบาและหลังคา นวดแผนไทย ล้างอัดฉีด เป็นต้น
3) ฝึกทักษะฝีมือแรงงาน จำนวน 4,503 คน เช่น ช่างปูกระเบื้อง ก่ออิฐฉาบปูน ช่างไฟฟ้า ทำขนมไทย
เป็นต้น ช่วงที่ 2 เตรียมความพร้อมก่อนพ้นโทษ เป้าหมาย 10,000 คน มีผลการดำเนินงาน 10,535 คน โดย แนะแนวอาชีพ สาธิตการประกอบอาชีพอิสระ และบริการจัดหางาน แล้ว จำนวน 7,211 คน และทดสอบ
/ความ ...
-2-
ความพร้อมทางอาชีพ จำนวน 3,324 คน กลุ่มที่ 2 การดำเนินการหลังพ้นโทษ ได้รับการจ้างงาน แล้วจำนวน 394 คน เช่น พนักงานฝ่ายผลิต พนักงานรักษาความปลอดภัย เป็นต้น ประกอบอาชีพอิสระ จำนวน 71 คน เช่น เพาะเห็ดฟาง ช่างเชื่อม รับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งบริษัทเกรทวอลลฯ ที่มาตรวจเยี่ยมในวันนี้
มีการจ้างงานผู้ต้องขังอยู่แล้วในตำแหน่งพนักงานทั่วโดยเป็นผู้ต้องขังชาย จำนวน 21 คน (ทำงานทั่วไป
16 คน ทำงานที่มีทักษะ 5 คน) มีผู้ควบคุมดูแลจากเรือนจำ 2 คน ทำงานวันจันทร์-วันเสาร์ เวลา 08.00 -17.00 น. มีรถรับ-ส่ง จากเรือนจำ พร้อมมีอาหารมาจากเรือนจำ ซึ่งทางบริษัทฯ มีอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยในการทำงานให้ เช่น รองเท้าเซฟตี้ ปลั๊กอุดหู เป็นต้น ทางบริษัทฯ รับผู้พ้นโทษเข้าทำงาน 7 คน ปัจจุบันเหลือ 4 คน
รมว.แรงงาน กล่าวอีกว่า ยังมีอีกหลายสถานประกอบการที่รับผู้พ้นโทษเหล่านี้เข้าทำงาน เช่น บริษัท เอ็ดดี้ โกล์ด จำกัด (ทำทอง) โรงงานอุตสาหกรรมกระเบื้องดินเผา เด่นจันทร์ เป็นต้น นอกจากนี้กระทรวงแรงงาน ยังมีการส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน โดยผู้พ้นโทษที่สนใจจะประกอบอาชีพอิสระ สามารถจดทะเบียนเป็นผู้รับงานไปทำที่บ้าน และกระทรวงแรงงานมีกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน สำหรับให้ผู้รับงานกู้ยืมเงินเพื่อไปซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการผลิต หรือขยายการผลิตเพื่อสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับผู้รับงานไปทำที่บ้านได้อีกด้วย โดยมีวงเงินปล่อยกู้ตั้งแต่ 50,000-200,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ระยะเวลาผ่อนชำระ 2-5 ปี ทั้งหมดนี้เป็นการเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญของรัฐในการมุ่งเน้นให้คนไทยทุกช่วงวัยมีงานทำอย่างทั่วถึง มีอาชีพที่สร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับตนเอง ปรับเปลี่ยนทัศนคติของสังคมให้เกิดการยอมรับและให้โอกาสผู้พ้นโทษในการกลับเข้าสู่สังคม โดยสามารถขับเคลื่อนให้เป็นสังคมที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นการพัฒนาประเทศให้ดียิ่งขึ้น และมุ่งสู่สังคมที่ไม่ทอดทิ้งใครไว้เบื้องหลัง (No One Left Behind)





















ภาพ/ข่าว : รัตน์ ไบรท์ 20
......... ..... ..... ..... ...........
เกรียงไกร อนุรักษ์เจริญพร
บก.สยามไทยแลนด์ นิวส์
(ทุกทิศ ทั่วไทย ข่าวสารกว้างไกล คุณธรรมนำใจประชาชน)

-------------------------------------
เว็ปไซต์นี้จดทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทะเบียนพาณิชย์

-----------------------------------------------------

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น