• KSL Group

    บริษัท น้ำตาล ขอนแก่น จำกัด (มหาชน)

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2562

ของดีศรีบุญเรือง!!โครงการปั่นจักรยานส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อชมและชิมของดีศรีบุญเรือง

สยามไทยแลนด์ นิวส์ (ทุกทิศ ทั่วไทย ข่าวสารกว้างไกล คุณธรรมนำใจประชาชน)

ของดีศรีบุญเรือง!!โครงการปั่นจักรยานส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อชมและชิมของดีศรีบุญเรือง


๑.โครงการปั่นจักรยานส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อชมและชิมของดีศรีบุญเรือง
อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

๒.ที่มาและความสำคัญ
      ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ บริษัทประชารัฐรักสามัคคีขอนแก่น (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ได้เลือกตำบลศรีบุญเรือง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เป็นตำบลนำร่องในการให้การสนับสนุนภารกิจของบริษัทประชารัฐรักสามัคคีขอนแก่น (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด เนื่องจากตำบลศรีบุญเรืองเป็นตำบลที่มีทรัพยากรที่ให้การสนับสนุนภารกิจของบริษัทครบทั้งด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน/ด้านผลิตผลด้านการเกษตรเพื่อต่อยอดให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เป็นการเพิ่มรายได้ของบุคคลในพื้นที่  ดังนี้
          ๒.๑ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนศรีบุญเรือง

          ๒.๑.๑ มีต้นยางนาขนาดใหญ่ ยื่นต้นมา ๑๐ แผ่นดิน อายุกว่า ๓๐๐ ปี ได้รับคัดเลือกเป็นต้นไม้ ๑ ใน ๖๕ ต้น โครงการ “รุกขมรดกของแผ่นดินใต้ร่มพระบารมี” เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๕ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกร บดินธรเทพยวรางกูร   ซึ่งจัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม และเมื่อวันที่  ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๑ จังหวัดขอนแก่น ไดจัดงานเปิดตัวต้นยางนาใหญ่ดังกล่าว ซึ่งยืนต้นอยู่บริเวณวัดป่าเกษมคงคาราม บ้านกุดหล่ม หมู่ที่ ๗ ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เป็น “แหล่งท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศน์” แห่งแรกของจังหวัดขอนแก่น เนื่องจากบริเวณดังกล่าว เคยเป็นสถานที่” พักทัพของเจ้าพระยามหากษัตริย์”สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ให้ไปเวียงจันทร์เพื่ออัญเชิญ”    พระแก้วมรกต” กลับประเทศไทยพระองค์ได้ตัดต้นไม้ยางนาบริเวณนี้เพื่อทำสะพานข้ามลำน้ำชีในการเดินทัพทั้งไป-กลับ


๒.๑.๒ ตำบลศรีบุญเรือง เป็นบ้านหนึ่งของเมืองชลบท ก่อนเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจะยกทัพกลับกรุงธนบุรี มาติดฤดูฝนอยู่เมืองชลบท ได้พักทัพอยู่บริเวณบ้านศรีบุญเรืองและช่วยชาวบ้านทำนาเพื่อเตรียม                เสบียงกังเดินทัพกลับกรุงธนบุรี เมื่อเสบียงข้าวปลาอาหารเพียงพอแล้วจึงได้เดินทัพกลับกรุงธนบุรี ก่อนเดินทัพกลับกรุงธนบุรี พระองค์ได้สั่งให้ช่างได้หล่อพระแก้วมรกตจำลอง และหล่อหลวงพ่อพระบางจำลอง เพื่อเป็นการขอบคุณพี่น้องชลบทที่ให้ข้าวปลาอาหารสำหรับเดินทัพกลับกรุงธนบุรี ฉะนั้น มีพี่น้องชลบทได้ติดตาม
กองทัพไปอาศัยอยู่ในกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่นั้นมา จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการนำ              “ลายไหม” จากกรุงรัตนโกสินทร์กลับมา“ทักทอ” ขึ้นที่เมืองชลบท ซึ่งแต่เดิมมีการ “ทักทอ” ลายไหมเดิมที่อพยพมาจากเวียงจันทร์อยู่แล้ว พี่น้องชลบทจึงตั้งชื่อลายไหมของเมืองชลบทว่า ลายราชวัฒน์  ลายขอพระเทพ และลายแคนแก่นคูน  “ไหมเมืองชลบท” จึงเป็นไหมที่มีประวัติศาสตร์และเป็นของดี“ศรีบุญเรือง”ของจังหวัดสร้างชื่อเสียงและรายได้ให้จังหวัดขอนแก่นอย่างเป็นกอบเป็นกำ


๒.๒ ด้านผลิตผลด้านการเกษตร

          ๒.๒.๑ มีการปลูกบัวหลวง ในพื้นที่หนองกองแก้ว ซึ่งเป็น “แก้มลิง” ของอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่นและในพื้นที่หนองสาธารณะประโยชน์ประจำหมู่บ้านอีกทั้งบริเวณที่นาซึ่งไม่สามารถทำ“นาปี” ได้เนื่องจากฤดูน้ำจากลำน้ำชี”เอ่อท่วม”ในบริเวณตำบลศรีบุญเรือง ๔ เดือน พี่น้องทำ “นาปัง” ทดแทนก็ราคาถูก จึงเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสหันมาปลูก “บัวหลวง” แรกๆก็ขายฝักบัวหลวง ในปัจจุบันได้มีการเก็บ “เกสรบัวหลวงตากแห้ง” ส่งขายตลาดเยาวราชกรุงเทพฯ กิโลกรัมละ ๒๕๐-๓๐๐ บาท เพื่อนำไปเข้าสูตรยาจีนและเครื่องสำอาง การเก็บเกสรบัวหลวงจะเก็บในช่วงหัวค่ำเป็นต้นไปจะได้น้ำหนักดี


          ๒.๒.๒ มีผลิตภัณฑ์จาก “ต้นตาล”ในพื้นที่ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น จำนวน 1,216 ต้น เริ่มปลูกโดยพระครูกันตธรรมมานุรักษ์ เจ้าคณะอำเภอชนบท “ฝ่ายธรรมยุต” เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๒๙             เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว เฉลิมฉลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เนื่องในวโรกาสทรงมีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ตอนนี้ต้นตาลดังกล่าวกำลังให้ผลผลิตยืนต้นเป็น  “ทิวแถว” เรียบถนนหนองกองแก้ว จากปากทางเข้าบ้านดอนดู่ถึงบ้านท่าม่วง ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น รวมรยะทางทั้งสิ้น ๘ กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันพี่น้องศรีบุญเรือง ยังไม่มีองค์ความรู้ที่จะนำผลิตภัณฑ์จากต้นตาลทั้ง ๑.๒๑๖ ต้น มาหาผลประโยชน์คงมีแต่พี่น้อง อำเภอหนองเรือ /อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น และพี่น้องจังหวัดหนองบัวลำภู มานำผลิตผลจากตาลไปจำหน่ายบริเวณถนนเข้าเมืองขอนแก่นทั้ง ๔ ด้าน



๒.๒.๔ มีผลิตภัณฑ์จาก “ลำน้ำชี” ซึ่งเป็นลำน้ำธรรมชาติต้นกำเนิดจากเทือกเขาจังหวัดชัยภูมิผ่านอำเภอมัญจาคีรี/ชนบท/เมืองขอนแก่น เข้าจังหวัดมหาสารคาม และไหลลงแม่น้ำโขงจังหวัดอบุลราชธานี รวมระยะทาง ๗๐๐ กิโลเมตร พี่น้องบ้านท่าม่วง/กุดหล่ม/และวังเวินของตำบลศรีบุญเรือง เป็นหมู่บ้านติดลำน้ำชีมีอาชีพหาปลาจากลำน้ำชี มาทำเป็นปลาแดดเดียว และปลาส้ม ส่งจำหน่ายในพื้นที่และต่างจังหวัดมีกรรมวิธีในการ “ผลิต” เป็นสูตรเฉพาะของพี่น้องศรีบุญเรืองนำมารับประทานกับ “ข้าวเหนียวร้อนๆ จิ้มแจ่ว”จะอร่อยจับใจมาก

          ๒.๓.๒ การจัดโครงการ“ปั่นจักรยานท่องเที่ยวชุมชนเพื่อชมและชิมของดีศรีบุญเรือง อำเภอชนบท
จังหวัดขอนแก่น และชาวต่างประเทศ เพื่อท่องเที่ยวพร้อมจับจ่ายใช้สอยตาม ข้อ ๒.๑ และ ๒.๒ แล้ว ขอเรียนว่าตำบลศรีบุญเรือง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่หางตัวจังหวัดขอนแก่น ๖๕ กิโลเมตร การจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นการ “ปั่นเพื่อท่องเที่ยว” จุดปลอยตัวนักปั่นจักรยานบริเวณมหาวิทยาลัยขอนแก่น และพักจักรยานและจัดกิจกรรมปลูกยางนาในบริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านพระยืน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล”ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยทราวดี “พุทธศตวรรษที่ ๑๒๐๐-๑๓๐๐”  เพื่อขอพระเป็นศิริมงคลกับชีวิตในปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๒ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น และปั่นเดินทางต่อไป บ้านเต่า ซึ่งมี “เต่าเพ็ก” อาศัยอยู่ ณ บริเวณบ้านเต่า ตำบลสวนหม่อน  อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น  และปั่นเดินทางต่อไปเพื่อเยี่ยมชมกล้วยไม้ช้างกระบริเวณวัดป่ามัญจาคีรี ตำบลกุดเค้า อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น และร่วมปลูกยางนาจำนวน 10 ต้น เพื่อแสดงออกเป็นสัญลักษณ์ในโครงการปลูกยางนา ๑.๙ ล้านต้นเท่าคนขอนแก่น และปั่นเดินทางต่อไปเพื่อนมัสการเจ้าพ่อมเหสักข์ ผู้เป็นเจ้าเมืองคนแรกในการสร้างเมือง “ชนบท” เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิตในช่วงปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๒ และร่วมปั่นเพื่อเดินทางสู่ปลายทางต้นยางนาใหญ่ อีกทั้งร่วมรับประทานอาหารกลางวันเสร็จแล้วร่วมพิธี “ทำบุญทอดผ้าป่าสมทบทุกปกป้องต้นยางนาใหญ่”ไม่ให้ล้มใส่ลำน้ำชีในช่วงฤดูที่จะมาถึงนี้และปั่นท่องเที่ยวชมของดีศรีบุญเรืองดังกล่าวข้างต้นพร้อมชมและซื้อผลิตภัณฑ์ของดีศรีบุญเรือง


เกรียงไกร อนุรักษ์เจริญพร
บก.สยามไทยแลนด์ นิวส์
(ทุกทิศ ทั่วไทย ข่าวสารกว้างไกล คุณธรรมนำใจประชาชน)




-------------------------------------
เว็ปไซต์นี้จดทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทะเบียนพาณิชย์

-----------------------------------------------------

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น