• KSL Group

    บริษัท น้ำตาล ขอนแก่น จำกัด (มหาชน)

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ขอนแก่น!! จัดโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำ โขง เลย ชี มูล ประจำปี 2567

สยามไทยแลนด์ นิวส์ (ทุกทิศ ทั่วไทย ข่าวสารกว้างไกล คุณธรรมนำใจประชาชน)

ขอนแก่น!! จัดโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำ โขง เลย ชี มูล ประจำปี 2567



     วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.30 น. กรมชลประทาน จัดโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมการบริหารจัดการน้ำ โขง เลย ชี มูล โดยแรงโน้มถ่วง ระยะที่ 1 (ระบบส่งน้ำ) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-12 กรกฎาคม 2567 ณ หอประชุม 100 ปี อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น 


เรียน นายกรชวาลวิชญ์ ชัยพีรวัส นายอำเภอน้ำพอง กระผม ในนามของผู้แทน กรมชลประทาน ขอขอบพระคุณท่านนายอำเภอเป็นอย่างสูง ที่ให้เกียรติ เป็นประธานการประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมการบริหารจัดการน้ำ โขง เลย ชี มูล โดยแรงโน้มถ่วง ระยะที่ 1 (ระบบส่งน้ำ) ในวันนี้


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ 103.5 ล้านไร่ มีลุ่มน้ำหลักที่สำคัญ 3 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำโขงอีสาน ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล มีพื้นที่การเกษตร 63.85 ล้านไร่ แต่เป็นพื้นที่เกษตรชลประทานเพียง 8.69 ล้านไร่ พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ยังอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ประชาชนประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากและปัญหาขาดแคลนน้ำอันเกิดจากฝนทิ้งช่วงในฤดูฝนและการขาดแคลนน้ำ ในฤดูแล้ง แหล่งกักเก็บน้ำต้นทุนมีน้อย เนื่องจากพื้นที่เป็นที่ราบสูงและมีลักษณะแบนราบ การนำน้ำมาใช้ส่วนใหญ่ต้องใช้การสูบน้ำจากแม่น้ำลำคลองเป็นหลัก 


โดยในช่วงที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการศึกษาเพื่อจัดหาน้ำต้นทุนเพิ่มให้กับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาโดยตลอด แต่เป็นวิธีการผันน้ำโขงเข้ามาโดยใช้วิธีการสูบน้ำ ซึ่งต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำเป็นจำนวนมากในแต่ละปี 


จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2548 มูลนิธิน้ำเพื่อคุณภาพชีวิต ได้เสนอแนวคิดในการผันน้ำโขง เข้ามาใช้ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยแรงโน้มถ่วง โดยมีกรมชลประทานและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องได้ศึกษาต่อยอดแนวคิดของมูลนิธิน้ำและคุณภาพชีวิตมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง

ต่อมา สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จึงได้ดำเนินการศึกษาประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมการดำเนินการโครงการ ระยะที่ 1 บริเวณพื้นที่หัวงานแนวผันน้ำ มีการปรับแนวหัวงาน  แนวผันน้ำตามสภาพการใช้ที่ดิน แล้วเสร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 โดยการพัฒนา ระยะที่ 1 สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ประมาณ 1.73 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ประสบปัญหาแล้งซ้ำซาก
ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาโครงการ…


ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาโครงการบริหารจัดการน้ำ โขง เลย ชี มูล โดยแรงโน้มถ่วง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะที่ 1 สามารถดำเนินการต่อไปได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้ ประกอบกับโครงการฯ เป็นการผันน้ำและพัฒนาระบบชลประทานที่มีพื้นที่ชลประทาน ตั้งแต่ 80,000 ไร่ขึ้นไป กรมชลประทานจึงมีความจำเป็นต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อใช้ประกอบการยื่นขออนุญาตดำเนินการโครงการในลำดับถัดไป

กรมชลประทาน จึงมอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด / บริษัท เอ็นแคด คอนซัลแตนท์ จำกัด / บริษัท ครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด และบริษัท ชลนวัต จำกัด ดำเนินงาน “โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมการบริหารจัดการน้ำ โขง เลย ชี มูล โดยแรงโน้มถ่วง ระยะที่ 1 (ระบบส่งน้ำ)” เพื่อ (1) ศึกษาทบทวนรูปแบบระบบชลประทาน (2) จัดทำประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ (3) ดำเนินงานด้านประชาสัมพันธ์และ การมีส่วนร่วมให้ทุกภาคส่วน
สำหรับการประชุมฯ ในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความก้าวหน้าของการศึกษาโครงการในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะแนวทางเลือกและรูปแบบการพัฒนาโครงการ ให้กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้รับทราบ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อความก้าวหน้าของการศึกษา แนวทางเลือก และรูปแบบการพัฒนาโครงการจากกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
โดยผู้เข้าร่วมประชุมวันนี้ ประกอบด้วย คณะกรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนจากหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ภาคประชาสังคม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำ สภาเกษตรกร ทสม. และผู้แทนกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์และผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ 


ต่อมา นายกรชวาลวิชญ์ ชัยพีรวัส นายอำเภอน้ำพอง จ.ขอนแก่น เป็นประธานกล่าวเปิด โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลผลกระทบสิ่งแวดล้อม การบริหารการจัดการน้ำ โขง เลย ชี มูล ประจำปี 2567 

วัตถุประสงค์ของการศึกษา 
- เพื่อศึกษาทบทวนรูปแบบระบบชลประทาน ตามรายงานรายงานศึกษาความเหมาะสม โครงการบริหารจัดการน้ำ โขง เลย ชี มูล โดยแรงโน้มถ่วง : การพัฒนาระยะที่ 1
- เพื่อศึกษาและจัดทำรายงานการประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ที่สอดคล้องเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง และแนวทางของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และแผนปฏิบัติการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIMP)
- เพื่อดำเนินการประชาสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน


รูปแบบคลองส่งน้ำ 
การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 1 เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของการศึกษาและรูปแบบของคลองส่งน้ำ โดยมี 3 รูปแบบหลัก ดังนี้
1. คลองดินรูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีถนน 2 ข้าง มีค่าเวนคืนที่ดินสูง พื้นที่ทำกินที่ได้รับผลกระทบมาก ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบมากรวมถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมสูง เนื่องจากเขตคลองมีความกว้างที่สุด แต่มีความง่ายในการก่อสร้างมากที่สุด และมีค่าบำรุงรักษาน้อยที่สุด
2. คลองดาดคอนกรีต รูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีถนน 2 ข้าง มีผลกระทบน้อยกว่าคลองดิน แต่มากกว่าคลองรูปตัวยู มีค่ะลงทุนน้อยที่สุด และมีความคุ้มค่าในการลงทุนมากที่สุด
3. คลองคอนกรีตเสริมเหล็กรูปตัวยู (U-Shape) มีถนน 2 ข้าง มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมน้อย รวมถึงการสูญเสียพื้นที่ทำกินน้อยที่สุด ครัวเรือนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เนื่องจากมีความกว้างเขตคลองน้อยที่สุด แต่มีค่าก่อสร้างสูงที่สุด เนื่องจากมีความยากในการก่อสร้าง รวมถึงมีระยะเวลาก่อสร้างนานที่สุด







เกรียงไกร อนุรักษ์เจริญพร
บก.ข่าวสยามไทยแลนด์ นิวส์
(ทุกทิศ ทั่วไทย ข่าวสารกว้างไกล คุณธรรมนำใจประชาชน)


-------------------------------------
เว็ปไซต์นี้จดทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทะเบียนพาณิชย์


-----------------------------------------------------


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น