• KSL Group

    บริษัท น้ำตาล ขอนแก่น จำกัด (มหาชน)

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2562

วัฒนธรรมหมอลำภาคอีสาน รณรงค์เลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 "พัฒนากลไกและแนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการเมืองด้วยบทเพลงพื้นบ้านภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานเพื่อความปรองดองและความสามัคคี"

สยามไทยแลนด์ นิวส์ (ทุกทิศ ทั่วไทย ข่าวสารกว้างไกล คุณธรรมนำใจประชาชน)

วัฒนธรรมหมอลำภาคอีสาน รณรงค์เลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 "พัฒนากลไกและแนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการเมืองด้วยบทเพลงพื้นบ้านภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานเพื่อความปรองดองและความสามัคคี"


     วันนี้ทีมข่าวสยามไทยแลนด์ นิวส์ จะพาท่านผู้ชมไปพบกับ วัฒนธรรมหมอลำภาคอีสาน ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต (โดย ผู้ช่วยศาสราจารย์จตุพล ดวงจิตร หัวหน้าโครงการวิจัยฯ) ร่วมกับสมาคมหมอลำจังหวัดขอนแก่น/ภาคอีสาน "พัฒนากลไกและแนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการเมืองด้วยบทเพลงพื้นบ้านภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานเพื่อความปรองดองและความสามัคคี" เพื่อมุ่งศึกษาถึงรูปแบบการสื่อสารทางการเมืองผ่านบทเพลงพื้นบ้านที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงการวางแผนกลยุทธ์ในการใช้เพลงพื้นบ้านเป็นเครื่องมือในการสื่อสารทางการเมืองให้กับประชาชนโดยเฉพาะการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมทางการเมือง ความสามัคคี ปรองดองของคนในชาติ
   

     
จุดเริ่มต้นของการใช้บทเพลงเข้ามาอภิปรายปรากฏการณ์ทางการเมือง เริ่มมาจากการที่ท้องถิ่นในแต่ละที่นั้น มักจะมีภาษาถิ่นเป็นของตนเอง มีการสื่อความหมายกันในกลุ่มชน ภาษาที่ใช้สื่อความหมายในแต่ละพื้นที่จึงอาจมีความไกล้เคียงหรือแตกต่างกัน รวมทั้งน้ำเสียงและสำเนียงที่สื่อออกมาก็จะมีความแตกต่างกัันไปด้วยเช่นเดียวกัน
      ในการสื่อสารของแต่ละกลุ่มชนก็มักจะมีรูปแบบและวิธีการสื่อสารที่หลากหลาย เพื่อให้การสื่อความหมายนั้นมีความเป็นเอกลักษณ์ เพิ่มอรรถรส และเป็นที่จดจำของทั้งผู้พูดและผู้ฟัง แต่ละกลุ่มชนจึงได้นำศิลปะทางด้านภาษาถิ่นตนมาสื่อสาร โดยใส่น้ำเสียงและทำนอง เพื่อใช้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการสื่อสาร "เพลงพื้นบ้าน" จึงได้ถือกำเนิดขึ้นและเป็นอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่นในการสื่อสารของแต่ละท้องถิ่นภายในประเทศไทย
   

      ในยุคหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การสื่อสารทางการเมืองเริ่มมีีการใช้บทเพลงเป็นสื่อในการสร้างความรู้ ความเข้าใจทางการเมืองมากยิ่งขึ้น และในขณะเดียวกันเพลงพื้นบ้านเริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมืองเป็นอย่างมาก ในช่วงที่เกิดการแข่งขันทางการเมือง เช่น เหตุการณ์ชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ การรณรงค์เลือกตั้ง การประชาสัมพันธ์ทางการเมือง เป็นต้น
   

      โดยพบว่า เนื้อหาของบทเพลงส่วนใหญ่จะถูกประพันธ์ขึ้นมาใหม่ เพื่อเป้าหมายทางการเมืองเป็นการเฉพาะ ซึ่งทำนองและเนื้อร้องของเพลง  มักจะมาจากการนำเอาเพลงพื้นบ้านมาดัดแปลงให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย สะดวกในการจดจำ หรืออาจจะมาจากการนำเอาบทเพลงที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนั้น มาเรียบเรียงเป็นบทเพลงใหม่ โดยที่คำร้องเป็นภาษาถิ่นของภูมิภาคนั้น ซึ่งประชาชนในท้องถิ่นจะสามารถเข้าใจและจดจำบทเพลงนั้นได้ดีกว่า รวมทั้งประชาชนในท้องถิ่นนั้นจะได้รู้สึกถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในท้องถิ่น มิได้ถูกตัดออกหรือลดความสำคัญออกจากระบบการเมือง
   

      ในด้านการยอมรับและการเข้าถึงการสื่อสารทางการเมือง ประชาชนเห็นว่า เพลงพื้นบ้านเหมาะต่อการใช้เป็นสื่อให้ข้อมูลข่าวสารความรู้ทางการเมือง และหากมีการเลือก (ผู้ขับร้อง/ผู้สื่อ) บทเพลงพื้นบ้านที่เป็นที่นิยมจะช่วยให้ประชาชนมีความสนใจมากขึ้น และเป็นที่น่าสนใจ และเห็นว่าในสภาวะการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน สมควรนำบทเพลงพื้นบ้านมาใช้เป็นสื่อจะช่วยให้ประชาชนเข้าใจข่าวสารทางการเมืองและจากการทดสอบความสัมพันธ์ของข้อมูลด้วยสถิติขั้นสูง ผลการวิจัยยืนยันว่า การยอมรับเพลงพื้นบ้านของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือให้เป็นสื่อทางการเมือง มีผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนอย่างชัดเจน ดังนั้น การสื่อสารข้อมูลข่าวสารทางการเมืองผ่านเพลงพื้นบ้านให้กับประชาชนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญที่ต้องขับเคลื่อน เนื่องจากผลการวิจัยยืนยันว่าเพลงพื้นมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ได้แก่ การใช้สิทธิ์เลือกตั้งและการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะเป็นอย่างมาก
   

      นอกจากนี้จากการทำเวที เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทีมวิจัยกับพ่อครู แม่ครูศิลปิน (เพลงซอ และหมอลำกลอน) พบว่า กลไกและแนวทางในการสื่อสารทางการเมืองผ่านบทเพลงพื้นบ้านควรพิจารณาประเด็นต่างๆ ดังนี้
      1.นักประพันธืกลอนลำควรมีความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการประพันธ์ และควรมีการศึกษาเนื้อหา(Content) สภาพบริบทของสังคมเพื่อกำหนดขอบเขตของเนื้อหาการประพันธ์ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เพื่อประสิทธิภาพของการสื่อสาร
      2.ทำการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย(ผู้รับสื่อ) หรือผู้ฟัง/ผู้ชม เพื่อกำหนดลักษณะกลอนลำ ทำนอง จังหวะ (ดนตรี) ผู้ลำ/หมอลลำ (ผู้สื่อ) ซึ่งที่กล่าวมาถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการสื่อสารข้อมูลให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
      3.ทำการพิจารณาเทคนิคในการสื่อสารเพื่อให้เข้าถึงผู้ฟัง/ชมอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมาย(ช่องทางในการเผยแพร่ที่เหมาะสมกับช่วงวัย ช่วงเวลาในการสื่อสาร)
      4.พิจารณาถึงเครือข่ายที่ใช้ในการสื่อสารซึ่ง ยกตวอย่าง เช่น การใช้กลไกของวัด/พระผู้ใหญ่เป็นส่วนที่ช่วยในการสร้างความมั่นใจ ไว้ใจในการสื่อสารเนื้อหาสาระหลักธรรมคำสอนผ่านกลอนลำ ซึ่งในเวทียืนยันว่าเป็นแนวทางที่ดำเนินการแล้วมีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง
   
การวิจัยชิ้นนี้พยายามสะท้อนให้เห็นว่า เพลงพื้นบ้านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) เหมาะต่อการนำมาใช้เป็นสื่อทางการเมืองเพื่อการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมทางการเมือง ความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ และเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นให้คงอยู่และสร้างมุลค่าให้กับวัฒนธรรมอีกทางหนึ่ง










เกรียงไกร อนุรักษ์เจริญพร
บก.สยามไทยแลนด์ นิวส์
(ทุกทิศ ทั่วไทย ข่าวสารกว้างไกล คุณธรรมนำใจประชาชน)






-------------------------------------
เว็ปไซต์นี้จดทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทะเบียนพาณิชย์

-----------------------------------------------------

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น